วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

:タスク3: I can change! ( I see :D )

สวัสดีค่ะ ขอต่อจากเอ็นทรี่ที่แล้วนะคะ เรื่องการเล่าเรื่องจากภาพ 外国人 

ถ้าให้เปรียบแล้ว เอ็นทรี่ก่อนหน้านั้นคือยุคมืด ส่วนเอ็นทรี่นี้คือชีวิตหลังพบทางสว่างค่ะ

ที่บอกว่าพบทางสว่างแล้วก็เพราะว่า อาจารย์ได้ให้พวกเราอ่านตัวอย่างการเล่าเรื่องจากภาพ(เดียวกันกับที่พวกเราเล่าไป) ทำให้เราได้เห็นว่าคนญี่ปุ่นมีสไตล์การใช้คำแบบไหน การเล่าเรื่องเป็นยังไง สำนวนต่างๆ ที่ตอนเราเล่าอยากจะพูดแต่ก็พูดไม่ได้ อ่านเสร็จแล้วก็ปิ๊งเลยค่ะ (แต่จะจำไปใช้ได้ตลอดไปหรือไม่... มุกโกะจะสู้ค่ะ T^T) ก็เลยขัดเกลารูปแบบการเล่า(กากๆ)ที่ลงไว้ในเอ็นทรี่ก่อนหน้านี้มาได้ดังนี้ > <

 ホテルのロビーで男性がソファーに座っています。同じソファーには新聞を読んでいるおじさんもいます。男性はぼんやりしていると、柱を背にして地図を広げている観光らしき外国人と目が合ってしまいました。すると、突然その外国人は愛想笑いをしながら、何か尋ねようと男性に近寄ってきました。しかし、外国語がさっぱり分からないせいか、男性は外国人にとどまってしまって隣のおじさんの新聞の後に隠れてしまいました。それを見た外国人言葉を失っていました。

โห..... ดูดีมวากกกกกกกกกกก เมื่อเทียบกับอะไรก่อนหน้านี้ (แน่ล่ะสิ...เพราะแทบจะเลียนแบบจากตัวอย่างมาทั้งน้านนนน TwT)

ขอพูดถึงแต่ละประเด็นที่ได้เรียนรู้หลังจากเห็นการเล่าของคนญี่ปุ่นและที่ได้เรียนจากอาจารย์มานะคะ

-          เรื่อง なんかของเราที่เล่าไปก่อนหน้า อันนี้แน่นอนว่าคนญี่ปุ่นไม่ใช้รัวๆแบบเรา (เรียกได้ว่าเค้าไม่ใช้กันเลยต่างหาก = =)

-          ส่วนเรื่องคำเชื่อมที่เรามัวแต่ そしてต่อเนื่องกันถี่ๆแบบนั้น  มาสังเกตแล้วคนญี่ปุ่นเค้าไม่ใช้กันเลยค่ะ ซึ่งก็ได้ทราบจากอาจารย์ว่าจริงๆแล้วการเล่าเรื่องไม่ควรใช้ そしてเลยค่ะ ไม่เป็นธรรมชาติเลยเพราะจะสื่อถึงว่าสิ่งที่เราจะพูดต่อไปเนี่ยเป็นประเด็นสุดท้ายแล้วนะ แต่ของเราจัดไปตั้งแต่กลางๆเรื่องเลยทีเดียว แล้วเป็นคอมโบเซ็ตสามตัวติดกันอีก.... ซึ่งถ้าจะใช้คำทำนองนี้ ใช้เป็นพวก それから、そこでดีกว่าค่ะ (แต่เราติดพูดそしてมากกกกกกกก T_T ต้องพยายามไม่ใช้) นอกจากนี้ก็มีคำอื่นๆอย่าง すると、しかし ให้เราเลือกใช้ด้วย > <

-          แต่จริงๆแล้วจากการที่สังเกตรู้สึกว่าคนญี่ปุ่นจะใช้คำเชื่อมในการเล่าเรื่องน้อยค่ะ แต่ประโยคของเค้าก็ยังดูต่อเนื่องกันดีเพราะมีการใช้คำขยายลักษณะต่างๆที่ละเอียดชัดเจนในประโยคเดียว (มีการขยายคำนามเยอะ) ไม่ต้องพูดหลายๆประโยคเชื่อมกันแบบที่เราพูด

-          มีประเด็นใหม่ที่รู้คือ คำว่าあるที่จะสื่อว่า ...แห่งหนึ่ง อะไรแบบนี้ เค้าไม่ได้ใช้กันกับทุกสถานที่ คำพวกนั้นจะไปเจอในพวกนิยายซะมากกว่า ซึ่งก่อนหน้านี้เราใช้ไปว่า あるホテルเพราะจะสื่อถึงว่าโรงแรมแห่งหนึ่งค่ะ จริงๆไม่ใช้ พูดไปเลยว่าเป็น ホテル

-          เรื่องของมุมมองในการเล่าเรื่อง อย่างที่บอกในเอ็นทรี่ที่แล้ว การเล่าเรื่องของเราออกแนวทื่อๆ แข็งๆ ประธาน กริยา กรรม จบ ไม่มีแฝงมุมมองให้มีดูมิติการเล่ามากขึ้น อย่าง ใช้รูป てくるที่ให้มุมมองว่าผู้เล่าเรื่องเหมือนเล่าเหตุการณ์ที่เกิดกับตนเอง หรือてしまうที่แฝงความรู้สึกของผู้พูดไปด้วย ซึ่งพอเห็นของคนญี่ปุ่นเค้าใช้แล้วเรารู้สึกว่าแบบนี้มีอรรถรสกว่าเป็นไหนๆ -..- เลยต้องนำมาใช้แต่งของตัวเองบ้าง

-          อีกจุดที่คิดว่าตนเองต้องแก้ไขคือเรื่องการใช้สกรรมกริยาและอกรรมกริยา ความจริงแล้วต้องใช้ 隠れるเพื่อสื่อว่าซ่อนตัว แต่เราใช้ 隠すไป ทำให้ความหมายของประโยคเปลี่ยน

-          จากการดูวิธีเล่าเรื่องของคนญี่ปุ่นแล้ว พบว่ามักจะใช้รูปているผสมไปกับรูปอดีตด้วย แต่คราวก่อนเราเล่าเรื่องโดยการใช้รูป ているตลอดเลย จุดนี้ก็ทำให้เข้าใจว่าการเล่าเรื่องไม่จำเป็นต้องใช้รูปที่สื่อว่ากำลังทำกริยานั้นๆเพียงอย่างเดียว สามารถใช้ทั้งสองรูปร่วมกันได้จะทำให้ฟังแล้วลื่นกว่า

-          ได้รู้สำนวนที่สงสัยหลาย ๆ คำ อย่างถ้า กางหนังสือพิมพ์หรือกางแผนที่ก็ใช้กริยา 広げる หรือถ้าอยากอธิบายชาวต่างชาติเพิ่มก็ได้สำนวน “พิงเสา”  柱を背にする

-          ส่วนศัพท์คำว่าสบตาที่เราใช้ไปว่า 目を合わせる ผิดค่า  เพราะถ้าใช้แบบนี้แปลว่าตั้งใจสบตากันเลย มารู้จากอาจารย์หลังจากเล่าไปแล้วค่ะ ควรเป็น 目が合うหรือ 目線が合うต่างหาก T T

และนี่คือสิ่งที่เราได้เรียนรู้ค่ะ ก็ขอจบการบอกเล่าชีวิตใหม่หลังได้เรียนรู้เพียงเท่านี้นะคะ > <  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Blog Template by BloggerCandy.com