วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

:タスク4:I can change? (New me?)

ช่วงนี้ยังไม่ได้อัพคำศัพท์อะไรเพิ่ม แต่จะมาสับตัวเองเพิ่มก่อนค่ะ ฮืออออ (จะพยายามอัพบ่อยๆนะฮึบๆๆ กำลังหาเรื่องที่น่าสนใจอยู่ TT)

ว่าด้วยเรื่องโปรเจค I can change ในที่สุดก็ดำเนินมาถึงรอบสุดท้ายสำหรับการเล่าเรื่อง 外国人แล้วค่ะ หลังจากที่ได้ลองพูดผิดๆถูกๆครั้งแรก และได้แก้การเล่าให้ดีขึ้นในครั้งถัดมา พวกเราก็มีโอกาสได้เล่าเรื่องนี้อีกครั้งแบบสดๆ ในคาบ วันนี้ก็เลยจะมาอัพเดทพัฒนาการของตัวเองสักหน่อยค่ะ

ขอพูดถึงส่วนที่พัฒนาในฐานะเป็นผู้ฟังก่อนนะคะคิดว่าทำหน้าที่ผู้ฟังได้ดีขึ้นกว่าครั้งแรก คือมีการตอบสนองคำพูดของเพื่อนมากขึ้น จากที่ครั้งแรกที่ฟังแล้วตอบสนองแบบไม่ค่อยเข้าถึงเรื่องราว และตอบคำเดิมซ้ำๆ  คราวนี้เลยใช้คำที่หลากหลายมากขึ้น เช่นคำว่า はい、へぇ、それは大変ですね、なるほどเป็นต้น  

แล้วการเล่าเรื่องล่ะเรามีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง? มาดูครั้งล่าสุดของเราได้เลยค่ะ T_T (ฮือ)

 それはねえーと、(はい)ホテルのロビーで男性が二人…います。えーと、一人は新聞を読んでいます。 もう一人はえーと、何もしないでぼーっとしています。(ああ)そしてそこで、ボーっとしている男性は外国人…えーと、新聞を持っている外国人と目が合ってしまいましたそして、(笑)その外国人はうれしそうな顔をして、えー…あのう…男性に近づいてきました。(はい)でも、その男性はそれをみると…なんか、あのう、最初には新聞を読んでいる男性がいますね。(ああ、はいはい)その男性はえーと、外国人に逃げようとして…なんか…新聞を読んでいる男性に新聞の後ろに隠れてしまいました。(ああ、なるほど)そう見ると、外国人はすごく怒っていました。(ああ)それはそれ以上です。(はい)
เป้าหมายของการอัพบล็อคครั้งนี้คือหาจุดที่ตัวเองพัฒนาขึ้น ดังนั้น... จะขอสับในส่วนที่คิดว่าดีขึ้นนะคะ T.T (แม้ว่าคันไม้คันมืออยากบ่นตัวเองมากก็ตาม กะซิก)

-      สิ่งที่คิดว่าทำได้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับครั้งที่แล้วหรือเรื่องไวยากรณ์และการใช้คำศัพท์ อย่างคำว่าสบตาที่ใช้สำนวนตามที่ได้เรียนรู้อย่าง 目が合うส่วนคำว่าซ่อนหลังหนังสือพิมพ์ที่ครั้งก่อนมีปัญหาว่าต้องใช้ 隠すหรือ隠れる ครั้งนี้ก็ได้ใช้อย่างถูกต้องมากขึ้น ส่วนอื่นๆ แม้จะมีจุดผิดอยู่แต่ก็น้อยลงมาก

-      การเล่าครั้งนี้มีการใช้คำอย่าง てくる、てしまうและใช้รูป ているผสมกับรูป ทำให้การเล่าเรื่องดูมีมิติมากขึ้นกว่าเดิม

-      เรื่องของการใช้คำช่วยที่ติดการพูด そしてครั้งนี้ก็ยังหลุดพูดอยู่หลายครั้ง แต่ก็รู้ตัวทุกครั้งและพยายามแก้เป็นคำอื่นอย่างそこでหรือคำว่าที่เหมาะกับการใช้เล่าเรื่องมากกว่า ซึ่งการเลิกใช้そしてในการเล่าเรื่อง ค่อนข้างเป็นเรื่องยากสำหรับเราที่ติดพูดคำนี้ T^T!! ต่อไปจะพยายามเลี่ยงมากขึ้น ถ้าจะใช้ก็จะใช้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์นั้นๆ

-      เรื่องการใช้ なんかที่เราใช้บ่อยมาก (ครั้งแรกที่เล่าพูดไป8ครั้งด้วยกัน คุณพระ!) คราวนี้แม้จะมีพูดออกมาอยู่บ้าง แต่ก็น้อยลงมาก (แต่ก็สังเกตว่าตัวเองก็ยังคงเปลี่ยนไปใช้ えーとหลายรอบอยู่ดี)  


ตอนแรกหลังจากเล่าเรื่องเสร็จคิดเลยว่าตัวเองไม่มีอะไรดีขึ้น แต่พอมาวิเคราะห์แบบนี้แล้วทำให้เห็นว่าอย่างน้อยก็มีจุดที่รู้ตัวและระวังตัวมากขึ้นกว่าเดิม การเปลี่ยนจุดที่ตัวเองบกพร่องอาจจะเป็นเรื่องยากและต้องใช้เวลา แต่จะพยายามมากขึ้นค่ะ สู้ตาย เย้ TwT!! 

วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

:タスク3: I can change! ( I see :D )

สวัสดีค่ะ ขอต่อจากเอ็นทรี่ที่แล้วนะคะ เรื่องการเล่าเรื่องจากภาพ 外国人 

ถ้าให้เปรียบแล้ว เอ็นทรี่ก่อนหน้านั้นคือยุคมืด ส่วนเอ็นทรี่นี้คือชีวิตหลังพบทางสว่างค่ะ

ที่บอกว่าพบทางสว่างแล้วก็เพราะว่า อาจารย์ได้ให้พวกเราอ่านตัวอย่างการเล่าเรื่องจากภาพ(เดียวกันกับที่พวกเราเล่าไป) ทำให้เราได้เห็นว่าคนญี่ปุ่นมีสไตล์การใช้คำแบบไหน การเล่าเรื่องเป็นยังไง สำนวนต่างๆ ที่ตอนเราเล่าอยากจะพูดแต่ก็พูดไม่ได้ อ่านเสร็จแล้วก็ปิ๊งเลยค่ะ (แต่จะจำไปใช้ได้ตลอดไปหรือไม่... มุกโกะจะสู้ค่ะ T^T) ก็เลยขัดเกลารูปแบบการเล่า(กากๆ)ที่ลงไว้ในเอ็นทรี่ก่อนหน้านี้มาได้ดังนี้ > <

 ホテルのロビーで男性がソファーに座っています。同じソファーには新聞を読んでいるおじさんもいます。男性はぼんやりしていると、柱を背にして地図を広げている観光らしき外国人と目が合ってしまいました。すると、突然その外国人は愛想笑いをしながら、何か尋ねようと男性に近寄ってきました。しかし、外国語がさっぱり分からないせいか、男性は外国人にとどまってしまって隣のおじさんの新聞の後に隠れてしまいました。それを見た外国人言葉を失っていました。

โห..... ดูดีมวากกกกกกกกกกก เมื่อเทียบกับอะไรก่อนหน้านี้ (แน่ล่ะสิ...เพราะแทบจะเลียนแบบจากตัวอย่างมาทั้งน้านนนน TwT)

ขอพูดถึงแต่ละประเด็นที่ได้เรียนรู้หลังจากเห็นการเล่าของคนญี่ปุ่นและที่ได้เรียนจากอาจารย์มานะคะ

-          เรื่อง なんかของเราที่เล่าไปก่อนหน้า อันนี้แน่นอนว่าคนญี่ปุ่นไม่ใช้รัวๆแบบเรา (เรียกได้ว่าเค้าไม่ใช้กันเลยต่างหาก = =)

-          ส่วนเรื่องคำเชื่อมที่เรามัวแต่ そしてต่อเนื่องกันถี่ๆแบบนั้น  มาสังเกตแล้วคนญี่ปุ่นเค้าไม่ใช้กันเลยค่ะ ซึ่งก็ได้ทราบจากอาจารย์ว่าจริงๆแล้วการเล่าเรื่องไม่ควรใช้ そしてเลยค่ะ ไม่เป็นธรรมชาติเลยเพราะจะสื่อถึงว่าสิ่งที่เราจะพูดต่อไปเนี่ยเป็นประเด็นสุดท้ายแล้วนะ แต่ของเราจัดไปตั้งแต่กลางๆเรื่องเลยทีเดียว แล้วเป็นคอมโบเซ็ตสามตัวติดกันอีก.... ซึ่งถ้าจะใช้คำทำนองนี้ ใช้เป็นพวก それから、そこでดีกว่าค่ะ (แต่เราติดพูดそしてมากกกกกกกก T_T ต้องพยายามไม่ใช้) นอกจากนี้ก็มีคำอื่นๆอย่าง すると、しかし ให้เราเลือกใช้ด้วย > <

-          แต่จริงๆแล้วจากการที่สังเกตรู้สึกว่าคนญี่ปุ่นจะใช้คำเชื่อมในการเล่าเรื่องน้อยค่ะ แต่ประโยคของเค้าก็ยังดูต่อเนื่องกันดีเพราะมีการใช้คำขยายลักษณะต่างๆที่ละเอียดชัดเจนในประโยคเดียว (มีการขยายคำนามเยอะ) ไม่ต้องพูดหลายๆประโยคเชื่อมกันแบบที่เราพูด

-          มีประเด็นใหม่ที่รู้คือ คำว่าあるที่จะสื่อว่า ...แห่งหนึ่ง อะไรแบบนี้ เค้าไม่ได้ใช้กันกับทุกสถานที่ คำพวกนั้นจะไปเจอในพวกนิยายซะมากกว่า ซึ่งก่อนหน้านี้เราใช้ไปว่า あるホテルเพราะจะสื่อถึงว่าโรงแรมแห่งหนึ่งค่ะ จริงๆไม่ใช้ พูดไปเลยว่าเป็น ホテル

-          เรื่องของมุมมองในการเล่าเรื่อง อย่างที่บอกในเอ็นทรี่ที่แล้ว การเล่าเรื่องของเราออกแนวทื่อๆ แข็งๆ ประธาน กริยา กรรม จบ ไม่มีแฝงมุมมองให้มีดูมิติการเล่ามากขึ้น อย่าง ใช้รูป てくるที่ให้มุมมองว่าผู้เล่าเรื่องเหมือนเล่าเหตุการณ์ที่เกิดกับตนเอง หรือてしまうที่แฝงความรู้สึกของผู้พูดไปด้วย ซึ่งพอเห็นของคนญี่ปุ่นเค้าใช้แล้วเรารู้สึกว่าแบบนี้มีอรรถรสกว่าเป็นไหนๆ -..- เลยต้องนำมาใช้แต่งของตัวเองบ้าง

-          อีกจุดที่คิดว่าตนเองต้องแก้ไขคือเรื่องการใช้สกรรมกริยาและอกรรมกริยา ความจริงแล้วต้องใช้ 隠れるเพื่อสื่อว่าซ่อนตัว แต่เราใช้ 隠すไป ทำให้ความหมายของประโยคเปลี่ยน

-          จากการดูวิธีเล่าเรื่องของคนญี่ปุ่นแล้ว พบว่ามักจะใช้รูปているผสมไปกับรูปอดีตด้วย แต่คราวก่อนเราเล่าเรื่องโดยการใช้รูป ているตลอดเลย จุดนี้ก็ทำให้เข้าใจว่าการเล่าเรื่องไม่จำเป็นต้องใช้รูปที่สื่อว่ากำลังทำกริยานั้นๆเพียงอย่างเดียว สามารถใช้ทั้งสองรูปร่วมกันได้จะทำให้ฟังแล้วลื่นกว่า

-          ได้รู้สำนวนที่สงสัยหลาย ๆ คำ อย่างถ้า กางหนังสือพิมพ์หรือกางแผนที่ก็ใช้กริยา 広げる หรือถ้าอยากอธิบายชาวต่างชาติเพิ่มก็ได้สำนวน “พิงเสา”  柱を背にする

-          ส่วนศัพท์คำว่าสบตาที่เราใช้ไปว่า 目を合わせる ผิดค่า  เพราะถ้าใช้แบบนี้แปลว่าตั้งใจสบตากันเลย มารู้จากอาจารย์หลังจากเล่าไปแล้วค่ะ ควรเป็น 目が合うหรือ 目線が合うต่างหาก T T

และนี่คือสิ่งที่เราได้เรียนรู้ค่ะ ก็ขอจบการบอกเล่าชีวิตใหม่หลังได้เรียนรู้เพียงเท่านี้นะคะ > <  

:タスク2: I can change! (By myself)

สวัสดีค่ะ วันนี้ก็ได้โอกาสมาสับแหลกสกิลของตัวเองอีกครั้ง เย้ o(T_T)o

ในคาบเรียนเมื่อครั้งก่อนๆ อาจารย์ให้พวกเราอธิบายเรื่องจากภาพ ซึ่งภาพที่เราได้ก็คือเรื่อง 外国人ค่ะ สถานการณ์ดังต่อไปนี้



โดยการอธิบายแบ่งเป็น 2 รอบ รอบแรกภาษาไทย (พอผ่านไปได้ด้วยความที่ชอบเก็บประเด็นนั่นนี่เม้าให้เพื่อนฟังอย่างละเอียดอยู่แล้ว =,.=) ส่วนรอบต่อมาเป็นภาษาญี่ปุ่น (ตายสนิทตรงนี้แหละค่ะ...... พัง T__T) ระหว่างเล่าก็ได้บันทึกเสียงตัวเองไปด้วยและเอามาถอดว่าพูดอะไรไปบ้าง ... พอเห็นที่ถอดออกมาแล้ว พูดตรงๆคือมุดแผ่นดินหนีมากค่ะ ToT และนี่คือที่เราพูดไปค่ะ

   えーと、これはなんか、あるホテルで、ホテルの一階にソファーがあります。(うん)このソファであるおじさんと男の人が座っています。(はい)おじさんはなんか、新聞のようなもの新聞を読んでいます。(はい)そして、男の人はなんか、何もしないで座ったまま。(はい)で、その男の人はある外国人と目を合わせます。(はい)そして、その外国人は地図を あ、その外国人は立っています。そして、手の中で地図をもっています。(はい)で、えーと、その外国人はあの男の人を見て、なんか、笑顔でその男の人に近づいています。はい、でも、男の人はなんかいやな顔をして、外国人と話したい気持ちえー(気がない?気がしない?)はい、話す気がない。で、男の人はその新聞を読んでいるおじさんはなんか隠します。(おじさんが隠します?)なんか、最初におじさんが新聞を読んでいますね。はい、その男の人は新聞の裏、後ろに(あー)なんか隠します(おわり?)終わり。

ยืนสงบนิ่งไว้อาลัยให้ตัวเองสิบนาที TT มาเข้าช่วงบอกเล่าความเจ็บใจกันดีกว่าค่ะ คือมัน...... มันช่าง..... นี่จะเริ่มบ่นจากอะไรก่อนดี เยอะจนเลือกไม่ถูก ขอเป็นที่ทำตัวหนาเน้นแดงๆไว้ก่อนแล้วกันนะคะ

-          ใช้คำว่า なんか เยอะมากกกกกกกกกก (โคตะระ -_-) ส่วนนี้ไม่เข้าใจตัวเองเหมือนกัน คิดว่าแต่ก่อนก็ไม่ได้พูดเยอะ แต่หลังๆมามันเริ่มติดง่ะ ฮือออ ไม่ดีเลยยย ฟังแล้วสะดุดมากๆ พอนับแล้วพูดไปตั้ง 8 ครั้ง (เอามือก่ายหน้าผาก TOT!!) อันนี้คือความเจ็บใจและเจ็บปวดที่ว่าทำไมต้องพูดเยอะขนาดนี้ 555 TT พอเห็นแล้วตระหนักได้มากๆว่าควรใช้ให้น้อยลงให้พอเหมาะพอควร

-          ต่อมาคือเรื่องคำเชื่อมค่ะ จริงๆระหว่างที่เล่าไปในหัวก็คิดว่าอยากใช้คำเชื่อมอื่นๆ นอกจากそしてกับจังเลย แต่วินาทีนั้นเหมือนแบบ เราต้องสู้ เราต้องผ่านมันไป ต้องเล่าให้จบ นึกอะไรได้ก็ใช้ไปก่อนเถอะ ผลออกมาก็ตามที่เห็นเลยค่ะ  ใช้ そしてไปทั้งหมด 3 รอบ ใช้ ไป 3 รอบ เฮ้ออออออ

-          อยากสื่อว่าผู้ชายนั่งเฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร แต่ก็นึกไม่ออกเลยพูดไปตรงๆเลยว่า 何もしないで =_=

-          จากรูปจะเห็นว่ามีฉากที่ผู้ชายที่นั่งอยู่กับชาวต่างชาติที่ห้อยกล้องสบตากันใช่มั้ยคะ ตอนพูดเราก็อยากพูดว่าสบตากัน แล้วสิ่งที่หลุดออกมาจากความคิดคือ 目を合わせる 

-          ต้องการสื่อว่าผู้ชายทำหน้าแบบไม่อยากคุยด้วย แต่วินาทีนั้นมันติด นึกไม่ออก สิ่งที่พูดออกไปก็ เห้อออ = =’ ตัวเองยังไม่ค่อยเข้าใจตัวเองเลยค่ะ

-          อยากใช้คำว่ากางหนังสือพิมพ์ หรืออ่านหนังสือพิมพ์คำอื่น แต่นึกได้แต่ 読んでいるเท่านั้นเอง

-          อยากอธิบายลักษณะของคนต่างชาติมากกว่านี้ แต่ก็ใส่ไปแค่ว่าเค้าเป็นคนต่างชาติถือแผนที่ ไม่ได้อธิบายอะไรเพิ่ม (แถมคำว่าถือแผนที่ในมือก็รู้สึกว่ายังงงๆ)

-          อีกคำที่รู้สึกเจ็บปวด คำว่า 隠すค่ะ ตอนที่เล่านี่จะสื่อว่าผู้ชายไปหลบที่หนังสือพิมพ์ของลุงคนข้างๆ แล้วพอนึกถึงคำว่าหลบหรือซ่อน แว้บมาก็คือ隠す เราก็ใช้ไปทั้งอย่างนั้นเลย ซึ่งตอนพูดเสร็จก็เริ่มคิดได้ว่าเฮ้ย ไม่ใช่ดิ ต้องใช้รูปอกรรมกริยาไม่ใช่รึ T T

-           โดยรวมหลังจากที่เห็นตัวเองพูดแบบนี้ รู้สึกมันทื่อไปหมด ไม่ค่อยมีมิติของการพูด เหมือนประโยคบอกเล่าแค่ว่าใครทำอะไรแบบแข็งๆ ซึ่งตอนที่เล่าก็คิดแต่ก็ไม่รู้จะปรับยังไง =3= เง้อ

อันนี้คือภาพรวมของการอธิบายเรื่องจากรูปของเราค่ะ TT_TT ซาบซึ้งถึงความกากเป็นอย่างดี เป็นคนพูดไม่เก่งอย่างรุนแรงงงงง จะพยายามมากขึ้นไปอีกค่ะ จะตั้งสติให้ดีกว่านี้ ฝึกพูดบ่อยๆหากมีโอกาส ฮือออออ


 เดี๋ยวเอ็นทรี่หน้าไปพบกับชีวิตที่เปลี่ยนไปหลังจากเห็นตัวอย่างการเล่าของคนญี่ปุ่นนะคะ 55555555 
 

Blog Template by BloggerCandy.com